วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว



ประวัติส่วนตัว



ชื่อ: นางสาวมะลิทัศน์   ดาโคตร    
ชื่อเล่น : นู๋ติ๊ก
กำลังศึกษา:มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร     
สาขาคณิตศาสตร์ (คบ.) ชั้นปีที่4 หมู่1
เกิด: วันที่1 มกราคม พ.ศ. 2534
ภูมิลำเนา: จ. สระแก้ว
นิสัย: ร่าเริง สนุกสนาน พูดเก่ง
คติ: สนุกไปวันๆและสร้างความสำราญให้กับคนรอบข้าง
นักร้องที่ชอบ: สมาชิก วง2pm

http://www.youtube.com/watch?v=yucfiFGgUsw&feature=youtu.be

วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข่าวใหม่Windows 8 ระบบปฏิบัติการตัวล่าสุดจากไมโครซอฟท์


                          เผยโฉม Windows 8 ระบบปฏิบัติการตัวล่าสุดจากไมโครซอฟท์

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่กับระบบปฎิบัติการตัวล่าสุดที่จะฉีกระบบปฏิบัติการวินโดวส์แบบเดิม ๆ ด้วยคุณสมบัติและรูปลักษณ์หน้าตาแบบใหม่ ล่าสุดไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 8 ในงาน "Build" ที่ทางไมโครซอฟท์จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่นักพัฒนาในการสร้างโปรแกรมเพื่อใช้งานบนวินโดวส์ 8 Windows 8 มาพร้อมกับคุณสมบัติใหม่ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอินเตอร์เฟซหลักที่เรียกว่า "Metro-Styled" มีลักษณะเดียวกับอินเตอร์เฟสของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โฟน 7 ไม่ใช่แค่การใช้งานบน NoteBook และ PC แต่ระบบปฏิบัติวินโดวส์ 8 ยังทำงานได้บน Tablets และนอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ เช่น  Internet Explorer 10 , เชื่อมต่อและใช้งานร่วมกับสังคมออนไลน์ (Social Network ), สนับสนุนการใช้งานกับอุปกรณ์แบบ Touchscreen , ปรับปรุงสมรรถนะให้รวดเร็ว, Metro interface ที่ทำให้การใช้งานดูหรูหราและน่าทึ่ง และ Windows App Store เป็นต้น

 ไมโครซอฟท์ระบุว่า Windows 8 นั้นยังมีพื้นฐานมาจาก Windows 7 แต่เพิ่มประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้, และเสถียรภาพของระบบ โดย Windows 8 จะกินหน่วยความจำน้อยลง ทำให้ทำงานได้ในเครื่องที่มีสเปคต่ำ  เพราะระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 สามารถใช้งานได้ในทุกๆ Device แม้แต่เน็ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู Atom รุ่นแรก กับหน่วยความจำเพียง 1 GB ก็สามารถใช้งานวินโดวส์ 8 ได้ รวมไปถึงแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ที่ใช้งานอยู่บนวินโดวส์ 7 สามารถนำมาใช้งานบนวินโดวส์ 8 ได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 สำหรับนักพัฒนา (Windows Developer Preview) เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ ทางเว็บ microsoft.com





แนวคิด Web 2.0 เกี่ยวกับทวิตเตอร์

แนวคิดเว็บ 2.0 คืออะไร?

หากจะกล่าวถึงคำนิยามของเว็บ 2.0 อาจมีใครหลายๆคนให้คำจำกัดความที่คล้ายๆกัน ซึ่งคำว่า WEB 2.0 ที่จริงแล้ว มิใช่อะไรที่ใหม่ หรือยากเกินกว่าที่เราจะเข้าใจ จะอธิบายสั้นๆดังนี้ค ในยุคที่เป็นเว็บ 1.0 ก็คือยุคแรกที่เราเริ่มมีการใช้ www เพื่อเชื่อมต่อเข้าสู่ยุคอินเทอร์เน็ตกัน ในยุคแรกๆ เว็บไซต์จะเป็นเพียงหน้าเว็บที่แสนจะธรรมดา เว็บส่วนใหญ่จะเกิดมาจากคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ที่เรียกตนเองว่า webmaster ที่สร้างเว็บเพื่อแสดงเนื้อหา ความรู้ รูปภาพ ผลงาน และอีกต่างๆนานา ส่วนสำคัญที่มองมันว่าเป็นยุคของเว็บ 1.0 ก็เพราะว่า "เนื้อหาส่วนใหญ่" นั้นผู้ดูแลจะเป็นผู้สร้างเนื้อหานั้นขึ้นมา" ให้ผู้เข้าชมเว็บได้อ่าน ได้ค้นหาข้อมูลที่ต้องการ และเขาเหล่านั้นก็จากไป ต่อมาได้มีภาษา อาทิ PHP, ASP ซึ่งเดิมนั้นใช้เพียง HTML กับ JavaScript และอาจจะมี Perl เข้ามามีส่วนร่วมอยู่นิดๆ ในช่วงที่ผู้คนเริ่มใช้ "อีเมล" และภาษาเหล่านี้เข้ามามีส่วนช่วยให้เว็บไซต์ มีลูกเล่นมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองกับผู้ใช้งานได้ เช่น มีระบบสมาชิก สมัครสมาชิกได้ โพสข้อความแสดงความคิดเห็นได้ โพสรูปได้ ซึ่งเว็บในยุคนี้ น่าจะยังเป็นยุคของเว็บ 1.5 ที่กำลังใต้เต้าขึ้นมา เพราะเนื่องจากเนื้อหาหลักๆ หรือหัวข้อหลักๆ ผู้ดูแล(Webmaster) ก็ยังเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดประเด็นของเนื้อหาอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เว็บบอร์ด ไดอารี่ เว็บอัลบั้ม และบริการของเว็บไซต์อีกมากมาย
มาถึงยุคเว็บ 2.0 เว็บ 2.0 จะตีโจทย์แนวคิดมาจากยุคของเว็บ 1.5 ที่เป็นยุคที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเริ่มเฟื่องฟู ทำให้เว็บมาสเตอร์หัวใส ได้คิดระบบ ที่ทำให้ผู้ใช้งาน ทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย และสามารถเอาระบบของเขาไปทำอะไรก็ได้ โดยเนื้อหา และวัตถุประสงค์ ไม่ถูกจำกัด ไม่มีกรอบ ไม่มีพรมแดน จะยกตัวอย่างเช่น
twitter.com ทวิตเตอร์สร้างมาจากแนวคิดที่แสนจะธรรมดา แต่เป็นสังคมเครือข่ายที่เติมโตไม่แพ้ Facebook  twitter ไม่มีเนื้อหา ไม่มีบริการฝากภาพ ฝากไฟล์วีดีโอ แต่ twitter มีคอนเซปที่ว่า "อยากรู้ว่าเพื่อนของเราทำอะไร เราก็ต้องไปติดตามเขา"  การใช้งาน ทวิตเตอร์นั้นก็แสนจะง่ายดาย เพียงแค่สมัคร และพิมพ์ไปว่า "คุณกำลังทำอะไรอยู่?" นั่นคือแนวคิดแรกที่ทวิตเตอร์ทำขึ้นมา เพราะแค่อยากทราบว่าเพื่อน หรือคนที่เราติดตาม เราสนใจ เขาทำอะไรอยู่ เขาอยู่ที่ไหน เขากินอะไร เขารู้สึกยังไง มี celeb ของเมืองไทยใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่อให้แฟนคลับได้ติดตามตัวเองอย่างใกล้ชิด บางเว็บไซต์ใช้เป็นที่กระจายข่าวสาร บทความใหม่ๆ หรือโฆษณาสินค้า ทวิตเตอร์นับเป็นเว็บที่ไม่ใช้เพียงแนวคิดเว็บ 2.0 เท่านั้น ยังมีเทคโนโลยี ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเว็บ 2.0 อีก อาทิ AJAX, DOM, JSON, RSS, API เป็นต้น ที่ทำให้ทวิตเตอร์สามารถสื่อสารกับ ผู้ใช้งานได้ทุกรูป แบบ ทั้งคอมพิวเตอร์พีซี โทรศัพท์มือถือ และเว็บไซต์กับเว็บไซต์ เช่นเดียวกับ Facebook ที่มีการติดต่อกันระหว่างเว็บไซต์ มีการดึงข้อมูลมาแสดง เพิ่มข้อมูล โดยผ่านทางเว็บไซต์อื่นได้ หรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยที่คุณไม่ต้องเข้าไปที่เว็บไซต์ของ twitter หรือ facebook เลย


ที่มา : http://dvision.in.th/what-to-know/web20-concept.html

วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว   ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว   ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย


http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป 

สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย 

อ้างอิง
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm 

http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm 

http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)

http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htmb  (7/7/2554) กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญา(TheoryofMultiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
-   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
-   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
-   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
-   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสมหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.             เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
 เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
 เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
 เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.             เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
 เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
 เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
 เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
 เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

สรุปทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)
ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
2.เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
อ้างอิง
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htmb

http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm 

http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)

http://sites.google.com/site/bookeclair/hk   (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล   (Information Processing Theory)ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีเริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.. 1950 จนถึงปัจจุบันชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศในที่นี้ จะใช้เรียกว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าการทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอเมียร์ (Klausmeier,1985:108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ1.การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล2.การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (Software)3.การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์

http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm   (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

สรุปทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล   (Information Processing Theory)
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ 

อ้างอิง




ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)

http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)    แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ  ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้ 
ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention) 
ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 
ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 
ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) 
ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 
ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 
ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 
ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
http://www.kroobannok.com/92  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)    ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knoeledge)
4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)
9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)
http://www.learners.in.th/assets/media/files/000/233/473/original_GAG.pdf?  (7/7/2554)กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)    ได้เสนอหลักที่สาคัญเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่า ไม่มีทฤษฎีหนึ่งหรือทฤษฎีใดสามารถอธิบายการเรียนรู้ของบุคคลได้สมบูรณ์ ดังนั้น กาเย จึงได้นาทฤษฎีการเรียนรู้แบบสิ่งเร้าและการตอบสนอง (S-R Theory) กับทฤษฎีความรู้ (Cognitive Field Theory) มาผสมผสานกันใน
ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne)
1 การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
2 การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
3 การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจา ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจาระยะสั้นและระยะยาว
4 ความสามารถในการจา (Retention Phase)
5 ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
6 การนาไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7 การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8 การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทาให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง


สรุปทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)   
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้ 
ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention) 
ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 
ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 
ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance) 
ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 
ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 
ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 
ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)